วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Lecture 10 : ERP


Enterprise System, Supply Chain Management and Enterprise Resource Planning
Enterprise System
บริษัทจำเป็นพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริงในองค์กร รวมทั้งพิจารณาด้านการลงทุน ความคุ้มค่า เป็นต้น Functional Information System เป็นระบบพื้นฐานที่สุด ซึ่งระบบสารสนเทศของแต่ละบริษัทนั้หน่วยงานสามารถพัฒนาขึ้นเองหรือซื้อ หรือเช่ามา
เนื่องจากความต้องการและ รูปแบบการทำงานของแต่ละหน่วยแตกต่างกัน รวมถึงแต่ละหน่วยงานก็มีลักษณะการตัดสินใจและอำนาจบริหารเฉพาะของตน เช่น ฝ่านขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ดังนั้นแต่ละแผนกจึงสามารถเช่าหรือซื้อระบบสารสนเทศแยกจากกัน แต่หากทำเช่นนั้นข้อเสียคือ จะมีฐานข้อมูลที่แยกจากกัน ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาด้านการพัฒนาในระดับองค์กรโดยรวม รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และการประสานให้ระบบของแต่ละแผนกเข้ากัน
ตัวอย่าง
·         Dell ตั้งโรงงานและการบริการลูกค้าแยกสถานที่กัน ต้องมีระบบฐานข้อมูลที่สื่อสารระหว่างสถานที่กันได้
·         UPS บริการส่งสินค้าและพัสดุมีระบบ Tracking Package เป็นรายแรก

การมีระบบสารสนเทศแบบ Enterprise System จะสามารถรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process)
§  Enterprise System (ERP) : ระบบจัดการริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ ด้วย
§  Customer Relationship Management (CRM) : บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
§  Knowledge Management Systems (KM) : บริหารงานภายในเพื่อพัฒนา องค์ความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business
§  Supply Chain Management (SCM) : บริหาร Supply Chain ตั้งแต่ผู้ผลิตแรกจนถึงลูกค้า
§  Decision Support Systems (DSS) : ช่วยในการตัดสินใจภายใน องค์กรแก่ผู้บริหาร เช่น ระบบส่งรถโดยคำนวณการใช้น้ำมัน การเดินทาง เพื่อให้ประหยัดน้ำมันมากที่สุด
§  Business Intelligence (BI) : การบริหารความรู้ภายในองค์กร เช่น จัดการอบรม มีการรวบรวมจากอีเมล์หรือการสื่อสารระหว่างบุคคลกันเอง


Supply Chain Management
นอกจากการบริหารภายในยัง ต้องประยุกต์ให้สามารถเชื่อมต่อกับบุคลากรภายนอกด้วยเพื่อมูลค่าสุงสุด เช่น Wal-mart มีสารสนเทศสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคู่ค้า ทำให้สามารถตรวจเช็คปริมาณที่จะต้องนำมาเติมสินค้าอัตโนมัติ
§  Warehouse Management System (WMS) บริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน ที่วางสินค้า การเข้าออกของสินค้า ควบคุมความปลอดภัย
§  Inventory Management System (IMS)
§  Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ + RFID ตรวจสอบการส่งของจริงอีกครั้ง เช่น ส่งของภาคเหนือ อาจแวะส่งของที่แต่ละจังหวัดก่อน ต้องเช็คการส่งในแต่ละจังหวัดด้วยว่าลงอะไร เท่าไหร่ ส่งข้อมูลกลับไปที่สำนักงานใหญ่
§  Vehicle Routing and Planning คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อประหยัดน้ำมัน
§  Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับสถานที่ ระบบการวัดแอลกออล์
แนวโน้ม IT สำหรับ Supply Chain Management ในอนาคต
1)      Connectivity เชื่อมโยงกับเครื่องมือได้ ง่ายมากขึ้น เช่น การใช้ Wireless สามารถเชื่อมต่อผ่านมือถือได้ การ 802.11a และ 802.11g มีศักยภาพได้มากขึ้นกว่า เนื่องจากมีความเร็วมากกว่าและสามารถกระจายคลื่นผ่านเครื่องกระจายได้มาก ขึ้น สามารถรักษาสถานะสัญญาณได้มากขึ้น  
2)      Advanced Wireless Voice & GPS ผ่านการใช้เสียงและ GPS
3)      Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง เช่น Intermec บริษัทผลิตปริ้นเตอร์และพัฒนาสินค้าที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น
4)      Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจดตอลผ่าน รูปภาพที่ถ่าย
5)      Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและ ติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที เช่น ธุรกิจประกัน (ในต่างประเทศ)
6)      2D & other barcoding advances บาร์โค้ด 2 มิติจะสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้ดีกว่าแบบอื่น
7)      RFID ชิปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบ สินค้า บัตรทางด่วน กล่องสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ว่ามีสินค้าอยู่จำนวนเท่าไหร่ มาจากที่ใด เป็น เทคโนโลยีสำคัญของระบบการบริการห่วงโซ่
8)      Real Time Location System RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถขยาย เครือข่าย ป้องกันการโจรกรรมได้
9)       Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียงแต่ใช้สำหรับระยะไกล โดยใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์ของคลังสินค้าและโรงงาน เป็นตัวอย่างของการปรับใช้ทรัพยากรไอทีให้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม อุตสาหกรรม อีกตัวอย่างคือระบบการจัดการระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาเฉพาะเพื่อ กำหนดค่า ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเครื่องอ่านและเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด อุปกรณ์อาร์เอฟไอดี คอมพิวเตอร์ที่ทนทาน และอุปกรณ์การเก็บและสื่อสารข้อมูลอุตสาหกรรมอื่นๆ
10)   Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และ เครือข่ายไร้สาย ประเด็นสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับการใช้งาน Wireless เพราะข้อมูลกระจายอยู่โดยไม่ทราบว่ามีใครแอบ ใช้ข้อมูลหรือไม่
Supply Chain Management and Its Business Value
                ประเด็นสำคัญอยู่ที่ทุกหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูล ร่วมกัน เช่น Wal-Mart ให้คู่ค้าต้องแบ่งปัน ข้อมูลให้เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า เป็นปัญหาในการทำงานจริง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเป็นการ Collaborative Planning ผ่านการออกแบบการส่งข้อมูล และสินค้าร่วมกัน สามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะเป็น รวมทั้งผ่านการจัดการ Vendor Managed Inventory (VMI) ระหว่างคู่ค้าด้วยกัน
ERP System Vendors
เช่น SAP, Oracle เวลาบริษัทซื้อโปรแกรม ERP ซื้อเป็น Module ไม่ซื้อทั้งหมด เพราะ
1.       แพง
2.       ปกติองค์กรจะมีระบบ สารสนเทศอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเอาระบบใหม่มาลงพนักงานก็ต้องใช้ทั้ง 2 ระบบ
3.       ต้องมีการ Customise ปรับปรุงให้เข้ากับลักษณะ การทำงานขององค์กร
Major ERP Modules
ระบบที่ใช้ในการขาย, เกี่ยวกับบัญชี, การขนส่ง, ออกใบเสร็จ
Third-Party Modules
ให้ภายนอกช่วยพัฒนา Module แล้วเราค่อยซื้อมาใช้กับองค์กร ข้อดีคือ ถูก แต่ข้อเสียคือ เป็นระบบที่พัฒนาจากภายนอกทำให้เราไม่แน่ใจเรื่องคุณภาพ และการดูแลรักษาภายหลัง
Augmented Reality
Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดย AR สามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object (คน,สัตว์,สิ่ง ของ,สัตว์ประหลาด,ยานอวกาศ) 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว ฉะนั้นเทคโนโลยี AR นี้ จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจิงได้รอบด้าน 360 องศา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินไปสถานที่จริงเลยแม้แต่น้อย
Mobile Operating System
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
1.         Symbian OS (Nokia)
เป็นระบบปฏิบัติการ mobile OS ที่รองรับเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย และออกมาแบบขึ้นมาเพื่อใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักในการรับ- ส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก มีความปลอดภัยสูง ปัจจุบัน Symbian OS เป็น Open source เต็มตัว โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนา software สามารถที่สนใจ พัฒนาโปรแกรมต่างๆบน Symbian OS ได้
                User Interface เรียบง่าย ใช้งานง่าย มีฟังก์ชั่นการใช่งานพื้นฐานที่ครบครัน ติดตั้ง application รวม ทั้งไฟล์ภาพ เสียง ภาพยนต์ หรือเพลง ได้อย่างสะดวก มีการจัดสรรทรัพยากรหน่วยความจำในเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาให้รองรับการสั่งงานแบบ multitask เหมือน iPhone เหมาะกับผู้ที่ใช้งาน function โทรศัพท์ แบบพื้นฐานเป็นหลัก และชื่นชอบความสะดวกสบายในการติดตั้งโปรแกรมหรือลงเพลงต่างๆ รวมถึงผู้ที่ต้องการระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานหลากหลาย
2.         BlackBerry OS (RIM OS)
                เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มุ่งเน้นให้มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และการพัฒนาในช่วงแรกนั้น ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในธุรกิจ เน้นการใช้งานด้าน E-mail เป็นหลัก โดยรองรับการใช้งาน Push mail เมื่อมี e-mail เข้ามาสู่ระบบ Server จะทำการส่ง ต่อมายัง BlackBerry โดยจะมีการเตือนสถานะที่หน้าจอ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลในทันที ทั้งนี้ระบบ e-mail ของ BlackBerry จะมีความปลอดภัยสูงด้วย การเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการ BlackBerry พัฒนาในส่วนของการสนับสนุน multimedia ต่างๆ มากขึ้น
                มีระบบการ Chat ผ่าน BlackBerry Messenger ซึ่งจะทำหน้าที่พิมพ์ข้อความสนทนากับผู้ที่ใช้ BlackBerry เหมือนกันแบบ real-time และสามารถ เชื่อมต่อกับ internet พร้อมกับมีการเปิดให้รับ-ส่งข้อมูลกับเครือข่ายมือถือตลอดเวลา ทำให้เหมาะกับผู้ที่ต้องติดต่องานต่างๆ ผ่าน e-mail รวม ถึงเหมาะกับวัยรุ่นที่ชื่นชอบการ chat กับกลุ่ม เพื่อน
3.         iPhone OS (Iphone+Ipod+Ipad)
 iOS ในชื่อเดิม iPhone OS เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแอปสตอร์ สำหรับเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มากกว่า 225,000 ตัว เวอร์ชั่นของ iOS บนไอโฟนนั้น เริ่มตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.0 แล้วก็มีหลายเวอร์ชั่น ออกมาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้ใช้ และเพื่อแข่งขันกับบริษัทโทรศัพท์มือถืออีกหลายบริษัท โดยเวอร์ชั่นปัจจุบันของ iOS คือ 4.0.2 (เวอร์ชั่นที่สามารถใช้ได้จริง)
 ระบบปฏิบัติการจากไอโฟน  มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และแฝงไปด้วยลูกเล่นมากมาย  มีความสามารถที่โดดเด่นของระบบ Multitouch   และมีจุดเด่นที่ดวามบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการ ดูหนัง ฟังเพลง ผนวกเข้ากับแอพลิเคชั่น และ เกมต่างๆ อีกมากมายบนแอพสโตร์  นอกจากนั้นยังรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์  ทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ต เช็คอีเมล์ หรือเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ได้อย่างสะดวก  ถึงอย่างไรก็ดี iOS มีข้อเสียคือ ยังไม่รองรับ แฟลช ทำให้แสดงผลแฟลชเว็บไซต์ได้ไม่เต็มที่ และด้วยความที่เป็นระบบปิด การติดตั้งโปรแกรมหรือลงไฟล์สื่อต่างๆ จะต้องผ่านโปรแกรม iTunes  ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

4.         Windows Phone / Windows Mobile OS
Windows Phone นั้นประกอบไปด้วย Application และซอฟต์แวร์ต่างๆของ Microsoft สำหรับมือถือในการใช้งานทั่วไป เช่น Internet Explorer Mobile สำหรับเข้าชมเว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานเช่น Microsoft Office Mobile ช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้ง่ายขึ้นแม้ไม่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ เช็คอีเมล ติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวผ่านระบบ IM หรือ แม้แต่โทรติดต่อกัน  นอกจากนั้นยังช่วยให้เรียกใช้Application ต่างๆตั้งแต่ Office Word, Excel, PowerPoint หรือ OneNote ได้อีกด้วย  ถึงอย่างไรก็ดี  Windows Phone ยังไม่เป็น Open source เนื่องจากติด เรื่องลิขสิทธิ์  ทำให้การพัฒนาต่อยอดเป็นไปได้ ยากกว่า OS ที่เป็น Open source ระบบนี้มีจุดเด่น คือ
-      ง่ายต่อการใช้งาน  และสามารถ synchronize เข้ากับ PC ได้อย่างดี  ทำให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
-     บริหารจัดการ Global Positioning System (GPS) ในตัว
-     รองรับการใส่ภาพใน Caller ID ในตัว
-     รองรับความสามารถ “push” ร่วมกับ Microsoft Exchange Server ทำให้อีเมล์หรือข้อมูลใหม่ส่งมาที่ เครื่องทันที  โดยไม่ต้องคอยตรวจสอบทางเซิร์ฟเวอร์ว่ามีข้อมูลใหม่มาหรือไม่
-       บริหารจัดการและรองรับบลูทู ธในตัว
-       เพิ่มความสามารถ Error-Reporting สำหรับส่งรายละเอียดข้อผิดพลาดไปยังผู้พัฒนาในกรณีที่มี ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

5.         Android
เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Google โดยมีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Linux โดย มีการพัฒนาต่อยอด พร้อมทั้งเปิดเผย Source Code เป็น แบบ Open Source Android มีแนวคิดที่จะนำคุณสมบัติ ของโทรศัพท์มือถือ รวมเข้ากับบริการต่างๆ ของ Google ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้   และยังถูกออกแบบให้มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม โดยยังคงเรื่องความคล่องตัวในการใช้งานค่อนข้างมาก
ด้วยความที่ Android เป็นระบบปฏิบัติการจากGoogle จึงรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้บริการจากกูเกิ้ลได้อย่างเต็มที่ ทั้ง Search Engine, Gmail, Google Calendar, Google Docs และ Google Maps เป็นต้น นอกจากนี้ Android ยัง เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source  ซึ่งทำให้ซอฟท์แวร์ของทางแอนดรอยด์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนถึงตอนนี้ก็มีโปรแกรมต่างๆ กว่า 20,000 โปรแกรม ให้ได้เลือกใช้งาน   ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จึง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้งานบริการต่างๆ จากทางกูเกิ้ล รวมทั้งต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา แต่ยังไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานระดับเริ่มต้นเพราะวิธีแก้ปัญหาทางเทคนิคของ แอนดรอยด์นั้นยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก
ความสำเร็จ     
     จากการสำรวจ ตลาด Mobile OS ของ IDC พบ ว่า ในปี 2010 Symbian จะยังคง Market Share อันดับหนึ่ง ตามมาด้วย BlackBerry OS และ Android ที่มี Market Share ใกล้เคียงกัน แต่แนวโน้มในอนาคตคาดว่า Android จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก แนวโน้มในอนาคตของตลาดโทรศัพท์มือถือนั้นมีแนวโน้มที่จะนิยม OS ในรูปแบบ Open source มากกว่า ซึ่งก็ตรงกับลักษณะของ Android และ Symbian ในขณะที่ OS ที่เป็น Single source อย่าง IOS (Apple) กับ RIM (BlackBerry) นั้น แม้ว่ายอดขายโทรศัพท์มือถือของ Apple กับ BlackBerry จะเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง แต่ส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต RIM และ IOS อาจจะไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก โดยคาดว่าจะครองส่วนแบ่งทางการตลาด OS รองจาก Symbian และ Android 
Video Telepresence
            เทเลพรี เซ็นส์ คือ เทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และ เริ่มใช้งานจริงในปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เทเลพรีเซ็นส์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ network technologies, conference hardware, conference software ซึ่ง เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้เทเลพรีเซ็นส์ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่าวิดีโอคอนเฟอเร็น ซ์
Service-oriented Architecture


SOA (Service-Oriented Architecture) หมายถึง สถาปัตยกรรมเชิงบริการ เป็นแนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะ ที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)

การอธิบายแนวคิด SOA สามารถแบ่งได้ เป็น 2 คำ คือ Service-Oriented และ Architecture
- Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์แพ็ค เกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
- Architecture คือ การออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ
                 
ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web service เป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร
ปัจจุบัน SOA (Service-Oriented Architecture) เป็น หลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่มีการพูดถึงกันมาก โดยหลายๆ องค์กรพยายามที่จะออกแบบระบบทางด้านไอทีให้เข้าสู่ระบบ SOA แต่เนื่องจาก SOA เป็นหลักการในการออกแบบ ดังนั้นการทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาให้ใช้งานได้จริงนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยาก จนเมื่อเว็บเซอร์วิส (Web Service) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เกิดขึ้นมา จึงทำให้แนวคิด SOA ได้รับ ความนิยมขึ้นมาอย่างมาก จนบางครั้งทำให้หลายๆ คนคิดว่า SOA และ web service เป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว SOA เป็นแนวคิดหรือรูปแบบในการออกแบบการให้บริการ ส่วนเว็บเซอร์วิสเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เท่านั้น ทั้งนี้อาจใช้แนวทางอื่นในการพัฒนาระบบ SOA ก็ได้ เช่นการใช้ CORBA (Common Object Request Broker Architecture) หรือ Java RMI (Remote Method Invocation

พินทิรา ซิมะลาวงค์
5202113030

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

Lecture 9 : Datamangement and Business intelligence

Data Management (ต่อจากคาบที่แล้ว)
Data Warehouses Suitability 
เหมาะสำหรับ องค์กรที่มีข้อมูลและผู้เข้าใช้งานจำนวนมาก เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถ Drill Down ได้มองเจาะลงไป สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ตามที่จำเป็น สะดวกรวดเร็ว เช่น อธิการ จะดูภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัยก่อน จากนั้นจึงเจาะลงไปแต่ละคณะฯ เป็นการดึงข้อมูลมาจาก Data Base เฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

Data Warehouse Process
แบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.       รวบรวมข้อมูล 
ซึ่งเก็บข้อมูลทั้งหมดจากภายในองค์กร(Operational Data) และ ภายนอกองค์กร(External Data) เช่นข้อมูลคู่แข่ง
2.       Meta Data 
เป็นข้อมูลของข้อมูลซึ่งเกิดจากการที่นำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมารวบรวม และสร้างเป็น Meta Data ซึ่งใช้สำหรับอธิบายข้อมูลต่างๆใน ware house
3.       Data Staging 
จัดระบบข้อมูล และสร้างเป็น Data Cube โดยเริ่มจากคัดแยกข้อมูล(Extract) จากนั้น clean เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล แล้วจึงแปลงสภาพข้อมูล(Transform) ท้ายสุดเก็บใน data cube (Load) ทั้งหมดอาจเรียก ETL
4.       Data Warehouse 
นำข้อมูลมาสร้าง Data Warehouse โดยยึดตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจเป็นหลัก
5.       สร้าง Business View 
นำเสนอข้อมูลสำหรับผู้บริหาร ในรูปแบบของ Dash Board เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวก

Metadata
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อมูลที่อยู่ใน Warehouse เช่น พวก guide ในการย้ายdata หรือ พวก business term used ที่ใช้อธิบายข้อมูล

Data Mart
Data Mart เปรียบเสมือน Data Warehouse ขนาดย่อม ซึ่งหมายถึงการแบ่งข้อมูลเฉพาะที่ใช้งาน ไม่ใช่การย่อขนาดของข้อมูลลง ผู้ใช้งานจะคัดลอกข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสมของแต่ละแผนกให้เป็น Data Mart ของแต่ละแผนกเอง ทำให้การทำงานสามารถตอบสนองการใช้งานได้เร็วขึ้นดังนั้นจึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีแผนกย่อยจำนวนมาก ซึ่ง Data Mart แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
1.       Replicated (Dependent) Data Marts
เป็นการคัดลอกข้อมูลบางส่วนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเป็น Data Mart ใหม่ให้มีขนาดเล็กลง
2.       Stand-alone Data Mart 
เป็นการสร้าง Data Mart เฉพาะฝ่ายขึ้นมาก่อน เนื่องจากองค์กรยังไม่มีความพร้อม เมื่อทำครบทุกฝ่ายแล้วจึงนำมารวมกันเป็น Enterprise  แต่กรณีนี้เป็นไปได้ยากมาก

Data Cube
คือ ฐานข้อมูลที่มีหลายมิติ (Multidimensional Databases) จับหลายมุมมองมารวมกัน เพื่อให้สามารถมองภาพของข้อมูลนั้นได้หลายมิติมากขึ้น โดยมีจุดเด่น คือ สามารถตัดข้อมูลเป็นแต่ละส่วนเพื่อเลือกส่วนของข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ได้ ซึ่งสามารถ Slice และ Dice ออกมาได้ มีลักษณะคล้ายรูบิค คือพิจารณาได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ขึ้นกับว่าผู้บริหารกำหนด Dimension เพื่อการนำไปใช้อย่างไร

Business Intelligence
เป็นการรวมกันของโครงสร้างระบบ เครื่องมือต่างๆ รวมถึงระบบฐานข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันที ประกอบไปด้วย กลุ่ม ดังนี้
1.       Reporting and Analysis (รายงาน+นำเสนอ) ได้แก่
Enterprise Reporting System 
จัดทำรายงานทั้งในรูปแบบปกติ และรูปแบบที่สามารถปรับแก้เองได้ตามต้องการ ทำให้รายงานมีมาตรฐาน ลดข้อมูลแฝง และลดเวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งรายงานเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่เตรียมให้สำหรับผู้บริหารนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
Dashboards
การนำเสนอข้อมูลออกมาเป็นรูปภาพ โดยแบ่งเป็นการแสดงรายงานของบุคลากรทั้ง ระดับ ได้แก่ Operation Dashboard, Tactical Dashboard และ Strategic Dashboard 
Scorecard 
เป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการในระดับกลยุทธ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบและควบคุม โดยนำหลักมาจาก Balance Scorecard ที่แบ่งมิติสำหรับการตรวจสอบออกเป็น มิติ ด้วยกันนอกจากนี้ยังมีการกำหนด KPIs ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบและประเมินผลการทำงานอีกด้วย
Visualization tools 
เป็นเครื่องมือยอดนิยมมากที่สุด เนื่องจากช่วยทำให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่าย
2.       Analytics (วิเคราะห์ข้อมูล)
วิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ Predictive analysis, Data,text and web mining Business และ Online Analytical Processing (OLTP) ซึ่งเป็น software ที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว, consistency และ interactive
3.       Data Integration (เตรียมข้อมูลให้พร้อมในการวิเคราะห์)
ประกอบด้วย ETL(extract,transform,load) และ EII (Enterprise information integration) 


Data Mining 
เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน และแยกข้อมูลออกมาเพื่อพยากรณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น โดย Data Mining จะต้องทำกับบริษัทที่มี Database ขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการค้นหา ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากเมื่อสามารถตีความหรือเข้าใจในผลลัพธ์และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง โดย Data mining มีรูปแบบดังนี้
·        Clustering – plot ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเอง ให้ดูง่ายขึ้นเห็น Trend
·        Classification – แบ่งตามคุณลักษณะต่างๆและทดสอบว่าสมมติฐานนั้น
·        Association – วิเคราะห์ผลสืบเนื่อง
·        Sequence discovery – ผลที่เกิดตามหลังมา
·        Prediction - นำเสนอผลที่ใช้สำหรับการคาดการณ์ในอนาคต
พินทิรา ซิมะลาวงค์ 
5202113030