วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 12 : CRM

CRM
Customer relation management
CRM
คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้บุคลากรหรือประสบการณ์ของแต่ละคนอย่างมีหลักการ เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่าไว้ ทำให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น เช่น ตลาดมือถือ ที่ค่อนข้างหาลูกค้าใหม่ยากแล้วต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบันอาจมีการใช้ CRM บน Social Network CRM จำเป็นกับ E-Commerce และควรพัฒนาให้ดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก E-commerce ได้มากที่สุด
เป้าหมายของ CRM
“การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป”
- การบริการลูกค้า
- เก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า
- นำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ
เช่น Amazon ที่จะเก็บข้อมูลการซื้อของเพื่อนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่น่าจะดึงดูดความสนใจของลูกค้าในทิศทางเดียวกันได้ ทำให้มีระบบแนะนำที่ดีพอเป็นการสร้างความสนใจและสร้างการตัดสินใจจากตัวเลือกที่มากขึ้นได้
ประโยชน์ ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
สรุปแล้วคือ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการทำงานหรือดำเนินงานหลักของธุรกิจได้ สนับสนุนการบริหารด้านการตลาดผ่านการบริหารลูกค้าคือ CRM ผ่านฐานข้อมูลที่มีอยู่พร้อม ตัวอย่างที่ดีมากคือ Amazon เก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละรายไว้พร้อมที่จะติดต่อได้และสามารถตอบอีเมล์และติดต่อลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างความประทับใจ

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
 ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing : ถือว่าสำคัญมากเพราะว่าไม่ได้เจอลูกค้าจริง ต้องมีฐานข้อมูลที่ติดต่อกันได้ผ่านเวบไซต์ ซึ่งเป็นการใช้ระบบสารสนเทศบนสมมติฐานว่าลูกค้าในปัจจุบันมีความสามารถในการหาข้อมูลและมีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากพอที่จะใช้ได้แล้ว
- ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
 ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) - ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถลดต้นทุนและความผิดพลาดได้ค่อนข้างมากว่าจะต้องติดต่อหรือประสานงานต่อไปที่ด้านใด ในปัจจุบันใช้มากในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่นิยม เนื่องจากแรงงานในประเทศไทยยังมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำและยังไม่มีความสามารถหรือทักษะด้านภาษามากพอที่จะให้บริการเช่นนี้กับบรษัทต่างประเทศหรือในประเทศไทยเองได้ ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
 ระบบการตอบคำถามลูกค้าอัติโนมัติ - ควรมีช่องทางให้ผู้ซื้อสามารถติดต่อกับบริษัทได้ โดยเฉพาะช่องทางที่สามารถทำให้ลูกค้าสามารถพูดคุยหรือติดต่อกับผู้รับผิดชอบได้โดยตรง โดยใช้ระบบที่ช่วยในการแสกน Keyword จากคำพูดของลูกค้า เพื่อส่งไปยังผู้รับผิดชอบเลยโดยไม่ผ่าน operator แต่ถ้าไม่สามารถวิเคราะได้ อาจส่งไป operator สามารถแบ่งได้เป็น
• การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
• การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
Data warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล
เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลละเอียดของ CRM ประโยชน์ในการทำ Data Warehouse เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆภายในบริษัท เช่น บริษัทบัตรเครดิต มีข้อมูลที่แบ่งตามช่วงวัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งการทำ Data Mining ที่เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลย่อยลงมา นอกจากนี้ การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line analytical processing; OLAP) เช่น บัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ที่ให้คูปองและส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไปได้
ข้อมูลมาจาก 2 ทาง คือ จากภายในและภายนอก ดังนี้
1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น
เครื่องมือที่ช่วยในการใช้ Data warehouse และ CRM
- Data mining คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสืมหาข้อมุลที่ต้องการ
- ระบบประมวลผลออนไลน์ OLAP : On-line analytic processing
Classification of CRM Applications
 Customer Facing จุดที่การบริการมีการพบเจอลูกค้าต่อหน้า สำคัญมากเพราะเป็นการสร้างความประทับใจ เช่น call center, website, help desk เป็นต้น
 Customer-touching จุดที่สัมผัสกับลูกค้าหรือเกี่ยวข้องกับลูกค้า(จุดที่ลูกค้าปฏิสัมพันธ์กับ application) ปัจจุบันจะสร้างช่องทางให้ลูกค้าบริหารจัดการการสั่งซื้อหรือบริการเองมากกว่าตอบสนองตามพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น
 Customer-centric intelligence – วิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากเก่าและใหม่ วิเคราะห์ผลการทำงานและดำเนินงานของพนักงานหรือบริษัทในการติดต่อกับลูกค้าเพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป เช่น Oracle ความจริงแล้วมีความจำเป็นมากกว่า ERM ปกติเนื่องจากเกี่ยวกับการสร้างรายได้โดยตรง (การตลาด)
 Online networking – เป็นกระแสใหม่ผ่าน Social Network เป็นการปรับการรตลาดตามพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้เวบไซต์มากขึ้นในปัจจุบัน เช่น Facebook YouTube แสดงวิดีโอในการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือการใช้ ในต่างประเทศมีการใช้ Crowd Sourcing ให้ลูกค้ามาช่วยออกแบบสินค้าใหม่

Level & type of e-CRM
- Foundational service – at least website เช่น เวบไซต์ถือเป็นพื้นฐานของการบริการบนระบบสารสนเทศ ปัจจุบันต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและมีช่องทางที่ติดต่อกับบริษัทแสดงไว้เป็นอย่างดี
- Customer centered service – order tracking product, Product customization ให้ลูกค้าได้มีส่วนในการออกแบบและติดตามการใช้บริการได้ด้วยตนเอง เช่น order tracking เช่น บริษัทขนส่ง UPS, product configuration/ customization & security/trust.
- Value added service – เช่น Dell มี option หลากหลายให้ลุกค้าเลือก customize คอมพิวเตอร์ของตนเองได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า
- Loyalty program ex. member card
Tools for Customer Service
• Personalized web pages used to record purchases & preferences. – เป็นการสร้างโอกาสให้ลูกค้าได้เข้าไปพบปะ พูดคุย และ ออกแบบสินค้าหรือบริการ และเสนอข้อคิดเห็นเรื่องต่างๆเกี่ยวกับบริษัทได้
• FAQs commonly used for dealing with repetitive customer questions. – นิยมใช้มากยิ่งขึ้น เป็นการตอบโต้ระหว่างลูกค้าและบริษัท
• Email & automated response – ส่งตอบกลับทันทีเมื่อได้รับเมบจากลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความประทับใจเพิ่มมากขึ้น เพราะทำให้มั่นใจว่าได้ส่งเรื่องถึงแล้วจริง ในทางตรงข้าม ถ้ามีการสัญยาว่าจะส่งทันที แต่ไม่มีการตอบกลับจะทหลูกค้าเสียความรู้สึกมากขึ้น
• Chat rooms – ทำเพื่อสร้าง community ของลูกค้าให้เกิดขึ้น แต่อาจมีข้อเสียเพราะอาจมีการคอมเมนต์ในแง่บล ทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและสินค้า ซึ่งอาจจะเป็ฯเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ได้ ทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสได้ บางบริษัทเริ่มใช้ skype มาใช้ในการพูดคุย
• Live chat
• Call centers
KMS
Knowledge Management System
Knowledge Management System
คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
Data – Information -- Knowledge

Data เป็นข้อมูลที่ยังไม่มีความหมายมาผ่านกระบวนการสร้างความหมายและคุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้ที่สามารถนำมาใช้ใหม่และแบ่งปันได้ ประเด็นสำคัญคือ การนำข้อมูลที่มีอยู่ออกมาให้ได้และสามารถแบ่งแยก จัดเก็บให้ถูกต้องมากพอที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปหรือเป็นความรู้
ประโยชน์ของ KMS
• เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
• ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
• ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร
• ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง

วิธีสร้าง KMS
• สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
• สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง เดี๋ยวนี้แนวใหม่คือการใช้ social network เช่น facebook แต่ปัญหาก็คือ ไม่ได้มีคนใช้ทุกวันทำให้การพัฒนาที่สร้างขึ้นมาไม่ได้มีประโยชน์พอ

ลำดับขั้นตอนของความรู้
1. Data
2. Information
3. Knowledge
4. Expertise
5. Capability

การสร้างความรู้
 Socialization – การเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ลูกค้า เริ่มจากการวิเคราะห์และเรียนรู้ด้วยตนเอง นักพัฒนาระบบต้องไปดูสังคมและบุคคลที่จะเข้าถึงเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
 Externalization - เป็นข้อมูลหรือพฤติกรรมจากภายนอก เช่น จากพนักงานขาย จะเก็บความรู้ทั้งประเภทชัดแจ้งและฝังลึก มักจะพยายามจัดการความรู้โดยพยายามให้ความรู้ฝังลึกอธิบายออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้งเพื่อแบ่งปันกันต่อไป คล้ายๆสร้าง tacit knowledge จากตัวพนักงานคนหนึ่งให้เป็น Group knowledge กระจายๆออกไป อาจเรียกว่า crystallized
 Combination - นำความรู้ต่างๆที่มีของตน มารวบรวม และสามารถอธิบายได้ มาประยุกต์ใช้ได้ดี
 Internalization – หลักจากมีฐานข้อมูลแล้ว ขั้นนี้ก็เป็นการอ่าน ศึกษา และนำไปใช้ต่อได้เอง


กระบวนการจัดการความรู้
 การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
 การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
 การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
 การแบ่งปัน/กระจายความรู้ (Knowledge Sharing/Distribution)
 การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
 การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)

กระบวนการจัดการความรู้
 การแสวงหาความรู้ - เป็นกระบวนการที่องค์กรควรแสวงหาความรู้ ต่างๆทั้งภายในและภายนอก
 การสร้างความรู้ - เป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ
 การจัดเก็บความรู้ - เป็นกระบวนการที่องค์กรต้องกำหนดสิ่งสำคัญที่จะเก็บไว้เป็นความรู้
 การถ่ายทอดความรู้ - เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่ยนย้ายข้อมูล ข่าวสาร ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง

Case I : Infosys
จากการที่มีพนักงานจำนวนมากและมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบสารสนเทศรองรับเพื่อจัดการข้อมูลของพนักงานที่มีอยู่กระจัดกระจาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานที่เกิดขึ้น แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะพนักงานไม่ให้ความสำคัญ

Case II : NOK
มีความแตกต่างอย่างเด่นชัดในเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สาเหตุที่สร้างความรู้และสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้เป็นการดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่กลับมาเรื่อยๆ เพราะโดยธรรมชาติของพนักงานโรงงานแล้วจะมีการออกจากงานค่อนข้างเร็วจึงจำเป็นต้องอาศัยการแนะนำพนักงานรุ่นใหม่ให้มาทดแทนเสมอ เช่น การสร้างความรู้ในการใช้เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. IT HYPE
    1.Data Center
    หรือศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กร

    ลักษณะ
    ต้องมีเสถียรภาพ
    สามารถใช้งานได้ตลอด (downtime, uptime)
    ต้องมีความปลอดภัย ป้องกันไวรัสต่างๆ
    ต้องสามารถกู้คืนข้อมูลได้ หากเกิดเหตุสุดวิสัย
    ต้องมีการบำรุงรักษา
    ต้องรองรับการขยายตัวในอนาคต
    วิธีการใช้งาน
    1.Cloud Computing เป็นการฝากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น ไม่มีระบบล่ม ติดตั้งได้สะดวก
    2.Security- Activity Monitoring เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ข้อมูลขององค์กร สามารถตรวจจับการทำงานต่างๆ ได้
    3.Reshaping Data Center มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบของ data center ให้สามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง
    4.Virtualization for Availability ทำให้มีเครื่องเสมือน ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการจัดซื้อดูแลคอมพิวเตอร์อย่างเปล่าประโยชน์

    การออกแบบ Data Center ต้องดูปัจจัย
    1.สภาพทางกายภาพ ต้องถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป เครื่องจะทำงานผิดปกติได้
    2.ควรมีพลังงานไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักใช้ไม่ได้
    3.เดินสายเคเบิลของ Data Center ให้เป็นระบบ สวยงาม และมีความปลอดภัย โดยเอาไว้ใต้พื้น
    4.อุปกรณ์ในการตรวจจับควัน เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
    5.อุปกรณ์ sprinkler system
    6.จำกัดบุคคลที่จะสามารถเข้าถึง Data Center ได้
    7.ต้องใช้พลังงานมาก


    2.Wireless Power
    คือการส่งพลังงานโดยไม่ใช้สายเคเบิล ซึ่งมีประเภทดังนี้
    Electromagnetic Induction เป็นการส่งพลังงานผ่านสนามแม่เหล็ก มี 2 ประเภทคือ Induction และ Resonant Induction
    Electromagnetic Radiation เป็นการส่งพลังงานระยะไกลผ่านคลื่นวิทยุหรือคลื่นแสง มี 2 ประเภทคือ microwave Method และ LASER Method
    ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น eCoupled, WildCharge Pad, Wireless LCD TV เป็นต้น

    ประโยชน์
    ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเคเบิล
    สะดวกในการใช้งาน
    ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    ตอบลบ